วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำถามเมืองหลวงอาเซียน

1.ประเทศใดไม่มีเมืองหลวง
   ตอบ สิงคโปร์
2.กรุงมะนิลาตั้งอยุ่ที่ใด
   ตอบ ตั้งอยู่บนเกาะลูซอน ริมอ่าวมะนิลา
3.ประเทศใดในอาเซียนมีเนื้อที่มากที่สุด
   ตอบ อินโดนีเซีย
4.เมืองหลวงของอินโดนีเวียตั้งอยุ่ที่ใด
   ตอบ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะชวา ติดทะเลชวา
5.ที่ตั้งของสำนักงานอาเซียนตั้งอยุ่ที่ประเทศใด
   ตอบ อินโดนีเซีย
6.เมื่อก่อนเมืองหลวงของประเทศลาวคือ
   ตอบ หลวงพระบาง
7.สำหรับสัญลักษณ์ยุคใหม่ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ที่ใคร ๆ ก็รู้จัก คือ
   ตอบ ตึกแฝดเปโตรนาสอ
8.ที่ใดเป็นสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ของไทย
   ตอบ สนามหลวง
9.ประชากรชาวบรูไน มีคนชนชาติใดบ้าง
   ตอบ โดยมีชาวบรูไนกับมาเลย์เป็นประชากรหลัก และมีชาวจีนอาศัยเป็นชนกลุ่มน้อย
10.จำลองเจดีย์ชเวดากอง ในพม่า ชื่อว่าอะไร
   ตอบ มหาเจดีย์อุปปตศานติ

เมืองหลวงของ 10 ประเทศอาเซียน

       นับถอยหลังใน พ.ศ. 2558 10 ประเทศอาเซียน ได้แก่ บรูไน กัมพูชาอินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ก็จะมีการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน  หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Association of South East Asian Nations:ASEAN)โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง ความก้าวหน้าทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเพื่อการเตรียมความพร้อมในการต้อนรับสู่ประชาคมอาเซียน เราคนคนไทยที่เป็นหนึ่งในประชาชนประชาคมอาเซียน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้ และรู้จักกับประเทศสมาชิก ทั้งภาษา ประเพณี วัฒนธรรมต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจและง่ายในการปรับตัวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งวันนี้กระปุกดอทคอมก็มีข้อมูลเกี่ยวกับเมืองหลวงของ 10 ประเทศสมาชิกมาให้รู้จักกันว่าแล้วก็ตามไปทำความรู้จักกันเลยค่ะ



บรูไน : บันดาร์ เสรี เบกาวัน

  ก่อตั้งเมื่อคริสตศตวรรษที่ 8 (พุทธศตวรรษที่ 13) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำบรูไน มีพื้นที่ 1,395 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1.4 แสนคน โดยมีชาวบรูไนกับมาเลย์เป็นประชากรหลัก และมีชาวจีนอาศัยเป็นชนกลุ่มน้อย
  ด้านสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองบันดาร์ เสรี เบกาวัน มีมากมายหลายแนว แยกเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาก็ต้องไปที่ มัสยิดสุลต่าน โอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน ซึ่งเป็นมัสยิดทองคำสไตล์อิตาลี หรือถ้าหากต้องการชมวิถีชีวิตคนที่นี่ ก็ต้องไปที่ หมู่บ้านริมน้ำ Kampong Ayer ติดแม่น้ำบรูไน ยาวกว่า 8 กิโลเมตร ที่แห่งนี้นับว่าถูกบรรจุเป็นมรดกโลก มีผู้อาศัยกว่า 3 หมื่นครัวเรือน และอายุมากกว่า 1 พันปีแล้ว


กัมพูชา : พนมเปญ


   ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง มีพื้นที่ 678 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 2,250,000 ล้านคน นับว่ามากที่สุดในกัมพูชา และเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของประเทศอีกด้วย

สำหรับประวัติกรุงพนมเปญ ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1372(พ.ศ.1915)และเป็นเมืองหลวงของกัมพูชา
   ก่อนที่จะย้ายเมืองไปย้ายเมืองมาเนื่องจากถูกรุกรานจากอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาและเวียดนามสลับกันโจมตี กระทั่งกัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ทำให้ ค.ศ.1865(พ.ศ. 2408)ในยุคของพระเจ้านโรดมที่ 1 กรุงพนมเปญจึงถูกตั้งเป็นเมืองหลวงอีกครั้ง


อินโดนีเซีย : จาการตาร์


   ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีพื้นที่มากที่สุดในอาเซียน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะชวา ติดทะเลชวา มีเนื้อที่ 740 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน และเป็นที่ตั้งของสำนักงานอาเซียนด้วย

สำหรับกรุงจาการ์ตา ก่อตั้งตั้งแต่ค.ศ.397(พ.ศ.940)และเป็นเมืองหลวงของอินโดนีเซียมาอย่างยาวนานตั้งแต่ก่อนเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์จนถึงปัจจุบัน
   สัญลักษณ์ที่สำคัญที่สุดของกรุงจาการ์ตา ได้แก่ อนุเสาวรีย์ประจำชาติอินโดนีเซีย(โมนาส)ซึ่งถือว่าเป็นอนุเสาวรีย์ที่สร้างโดยมีส่วนประกอบของทองคำในยุคของประธานาธิบดีซูการ์โนผู้ประกาศเอกราชให้อินโดนีเซียปลดแอกจากเนเธอร์แลนด์ได้


ลาว : กรุงเวียงจันทร์

   ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง และมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทย มีเนื้อที่ 3,920 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 7 แสนคน นับว่ามากที่สุดในประเทศ

   เดิมนั้นลาวมีเมืองหลวงคือ หลวงพระบาง ทว่าในช่วง ค.ศ.1563(พ.ศ.2106)เป็นต้นมา พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งอาณาจักรล้านช้าง ก็ได้ตั้งเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงแทนเพื่อหลีกหนีการรุกรานของพระเจ้าบุเรงนองแห่งอาณาจักรหงสาวดี
   สำหรับสถานที่สำคัญของกรุงเวียงจันทน์ มีอยู่ 2 สถานที่ด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ที่เป็นประวัติศาสตร์ของเมืองด้วย ได้แก่ หอพระแก้ว ซึ่งเป็นสถานที่ในการเก็บพระแก้วของลาว กับวัดพระธาตุหลวง เป็นวัดที่เป็นสัญลักษณ์ของลาว และสร้างพระธาตุหลวงด้วยทองคำ



มาเลเซีย : กรุงกัวลาลัมเปอร์

   ตั้งประมาณ ค.ศ.1850(พ.ศ.2393)มีเนื้อที่ประมาณ 243 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 1.6 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่มีประชากรมากสุดของประเทศ เมื่อมองทางด้านเชื้อชาติของผู้อาศัยในกรุงกัวลาลัมเปอร์ พบว่า เป็นชาวมาเลย์และชาวจีนเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ชาวอินเดียมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

   สำหรับสัญลักษณ์ยุคใหม่ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ที่ใครๆก็รู้จัก คงหนีไม่พ้นตึกแฝดเปโตรนาสอย่างแน่นอน



ฟิลิปปินส์ : กรุงมะนิลา

  ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.1574(พ.ศ.2117)ตั้งอยู่บนเกาะลูซอน ริมอ่าวมะนิลา มีเนื้อที่ประมาณ 38.55 ตารางกิโลเมตร ซึ่งถือว่าเล็กมาก มีประชากรประมาณ 1.6 ล้านคน

   สำหรับสัญลักษณ์ของกรุงมะนิลา ได้แก่ อนุเสาวรีย์ไรซอลที่สวนสาธารณะลูเนต้า ซึ่งอนุเสาวรีย์ดังกล่าวเป็นอนุเสาวรีย์ของโฆเซ่ ไรซอล บุคคลสำคัญที่ปลุกระดมให้ชาวฟิลิปปินส์สู้เพื่อปลดแอกจากสเปนได้ อย่างไรก็ตามไรซอลกลับถูกนำไปประหารเสียก่อนก่อนที่จะเห็นความสำเร็จตัวเองในภายหลัง



พม่า : เนปิดอว์

   ซึ่งย้ายมาจากกรุงย่างกุ้งมาตั้งแต่ พ.ศ.2548 มีเนื้อที่ประมาณ 7,024 ตารางกิโลเมตรมีประชากรราว 9 แสนคน และเพิ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวได้ในปีนี้(พ.ศ. 2555) เอง

  สำหรับการย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเนปิดอว์ ยังไม่ทราบเหตุผลที่แน่ชัด แต่เท่าที่หลายฝ่ายวิเคราะห์ อาจจะเป็นเพราะต้องการตั้งเมืองหลวงในใจกลางประเทศ เพื่อยุทธศาสตร์ทางการทหาร ต่างจากย่างกุ้งที่อยู่ใกล้ทะเลมากเกินไป หรือไม่ก็ต้องการฟื้นฟูธรรมเนียมดั้งเดิม เมื่อมีการเปลี่ยนราชวงศ์ก็ต้องย้ายเมืองหลวง
   เนปิดอว์แม้ว่าจะเป็นเมืองที่สร้างใหม่ แต่ก็มีสถานที่ที่น่าสนใจ อาทิ อนุเสาวรีย์ 3 กษัตริย์พม่าได้แก่ พระเจ้าอโนรธา แห่งเมืองพุกาม พระเจ้าบุเรงนอง แห่งเมืองหงสาวดี และพระเจ้าอลองพญาแห่งชเวโบ กลางเมืองเนปิดอว์ นอกจากนี้ ยังจำลองเจดีย์ชเวดากองในเมืองอีกด้วย ชื่อว่า มหาเจดีย์อุปปตศานติ



สิงคโปร์

   เป็นประเทศเดียวที่ไม่มีเมืองหลวง เนื่องจากเป็นเกาะขนาด 710 ตารางกิโลเมตร จึงบริหารประเทศทั้งหมดเป็นรัฐเดียว มีประชากรราว 5 ล้านคน ก่อตั้งราวคริสตศตวรรษที่ 2 (พุทธศตวรรษที่ 7)
   สำหรับสัญลักษณ์ที่สำคัญของสิงคโปร์ ย่อมหนีไม่พ้นเมอร์ไลอ้อน(สิงโตทะเล) ที่ตั้งอยู่ในเมือง มีหัวเป็นสิงโต ร่างเป็นปลา ยืนอยูบนยอดคลื่น สามารถพ้นน้ำออกมาได้



เวียดนาม : ฮานอย


  ฮานอยเมืองหลวงของเวียดนาม มีพื้นที่ 3,344 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 6.5 
ล้านคน นับว่ามากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจาก โฮจิมินห์ ซิตี้ ถือว่าเป็นเมืองที่แปลกมาก เพราะโดยทั่วไปปกติเมืองหลวงมักเป็นเมืองที่มีประชากรมากสุด(ไม่นับเนปิดอว์เพราะเป็นเมืองที่สร้างใหม่)

  กรุงฮานอย ถูกสร้างเมื่อปี ค.ศ.1010(พ.ศ. 1553)และเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรไต้เวียด ก่อนที่จะใช้เมืองเว้ในช่วงราชวงศ์เหงียนและกลับมาใช้ฮานอยเป็นเมืองหลวงอีกครั้งในยุคที่เป็นอาณานิคมฝรั่งเศส หลัง ค.ศ.1887(พ.ศ. 2430)เป็นต้นไป ด้วยเหตุนี้จึงนับได้ว่า ฮานอยเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเมืองหลวงเวียดนามเกือบพันปีเลยทีเดียว


ไทย : กรุงเทพมหานคร

   มีเนื้อที่ 1,568 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 5.6 ล้านคน นับเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย
   กรุงเทพมหานคร มีอายุมาแล้วกว่า 230 ปี ก่อตั้งราวคริสตศตวรรษที่15(พุทธศตวรรษที่ 20) มีสถานที่สำคัญอย่างวัดพระแก้ว สนามหลวงเป็นสัญลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากพื้นที่ตรงนี้เคยเป็นพระบรมมหาราชวังของกษัตริย์ในต้นราชวงศ์จักรีมาก่อน มีสยามสแควร์ ตลาดนัดสวนจตุจักรเป็นสัญลักษณ์ของการช็อปปิ้ง และมีอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นจุดศูนย์กลางของการเดินทาง







วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อาเซียน

Association of South East Asian Nations

(สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)



1. ประวัติความเป็นมา ASEAN


          อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations – ASEAN) เกิดขึ้นเมื่อปี 2510 ในยุคแห่งการเผชิญหน้าทางการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ และมีนโยบายแข่งขันในการผลิต การส่งออก การตลาด การหาแหล่งทุนและเทคโนโลยี ทำให้การเจริญเติบโตขององค์กรเป็นไปอย่างช้า ๆ ปฏิญญาอาเซียนหรือปฏิญญากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นปฏิญญาในการก่อตั้งอาเซียน ได้ระบุวัตถุประสงค์ของการรวมตัวกัน ดังนี้ เร่งรัดความ เจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในภูมิภาคโดยอาศัย ความร่วมมือระหว่างกันส่งเสริม พื้นฐานและเสถียรภาพ ในภูมิภาค โดยยึดหลักยุติธรรมและกฎเกณฑ์ของกฎบัติ สหประชาชาติส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านต่างๆ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และการบริหารช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรม วิจัย ในด้านการศึกษา วิชาชีพ เทคนิค และการบริหารร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การขยายการค้า การศึกษา ปัญหาการค้าโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก การขนส่งและคมนาคม และการยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนส่งเสริมการศึกษาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รักษาความร่วมมือที่ใกล้ชิดและเป็นประโยชน์กับองค์การระหว่างประเทศและภูมิภาคที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกัน และหาแนวทางร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกันมากขึ้น

          ในช่วง 10 ปีแรกหลังจากการก่อตั้ง อาเซียนให้ความสำคัญต่อการจัดทำกรอบงานอย่างกว้างๆ และยืดหยุ่นได้ เพื่อให้สอดรับกับ ความคิด เห็นอันหลากหลายของสมาชิก และเพื่อให้เป็นรากฐานอันมั่นคงสำหรับจุดมุ่งหมายร่วมกันต่อไป ดังนั้น แม้ว่าจะไม่ค่อยมีผลสำเร็จ เป็นรูป ธรรมมากนัก แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อการสานสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลอาเซียน ทำให้เกิดค่านิยมที่ดี และวาง รากฐาน ความ สำเร็จในอนาคต ทิศทางในการดำเนินงานของอาเซียนเริ่มชัดเจนขึ้นในปี 2520 เมื่อผู้นำอาเซียนประชุมสุดยอดครั้งแรก ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และได้ลงนามในปฏิญญาสมานฉันท์อาเซียน (Declaration of ASEAN Concord) และสนธิสัญญาไมตรีและ ความ ร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) ซึ่งขยาย ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ของ อาเซียนไปอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมถึงความร่วมมือด้านโภคภัณฑ์พื้นฐานโดยเฉพาะอาหารและพลังงาน การจัดตั้งอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การขยายการค้าระหว่างประเทศสมาชิก การจัดตั้งระบบสิทธิพิเศษทางการค้าระยะยาว การปรับปรุงการเข้าสู่ตลาดนอกอาเซียน และการ แก้ไขปัญหาโภคภัณฑ์ระหว่างประเทศ และประเด็นเศรษฐกิจโลกอื่น ๆ

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนในระยะแรก

          อาเซียนตระหนักดีว่า ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงของภูมิภาคดังนั้น นอกจากความร่วมมือทางการเมือง สังคม การศึกษา และวัฒนธรรม แล้วอาเซียนจึงมุ่งมั่นที่จะขยาย ความร่วมมือทาง เศรษฐกิจระหว่าง กันมา โดยตลอดอีกด้วย

          ในปี 2520 รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้าอาเซียน หรือ ASEAN PTA (Preferential Trading Arrangements: PTA) ซึ่งเป็นการ ให้สิทธิพิเศษโดยสมัครใจ และแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้า สิทธิพิเศษส่วนใหญ่เป็น การลด ภาษี ศุลกากรขาเข้า และการผูกพันอัตราอากรขาเข้า ณ อัตราที่เรียกเก็บอยู่ หลังจากนั้นก็มีโครงการความร่วมมือต่างๆ ตามมา โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมมีถึง 4 โครงการ ได้แก่ โครงการอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Project: AIP) ปี 2523 โครงการ แบ่งผลิตทางอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Complementation: AIC) ปี 2524 โครงการร่วมลงทุนด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Joint Ventures: AIJV) ปี 2526 โครงการแบ่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (Brand-to-Brand Complementation: BBC) ปี 2532

          จนกระทั่งปี2533องค์ประกอบสำคัญของเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตาเริ่มปรากฏให้เห็นเป็นครั้งแรก เมื่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อาเซียนไดตกลงใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมบางชนิด รวมทั้งซีเมนต์ ปุ๋ย และเยื่อกระดาษ อย่างไรก็ตาม โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดของอาเซียนก่อน การจัดตั้งอาฟตาไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัย ดังนี้ สมาชิกอาเซียนไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แม้จะอยู่ในภูมิภาคเดียวกัน การรวมตัวเกิด จากการ คุกคาม ความมั่นคงจากภายนอก มิใช่จากสำนึกแห่งความเป็น ภูมิภาคเดียวกันแต่ละประเทศ อยู่ระหว่างการพัฒนา อุตสาหกรรมภายในประเทศ จึงมองกันเป็นคู่แข่งการส่งออก และเห็นว่าภายนอกภูมิภาค คือ แหล่งเงินทุนและเทคโนโลยี โครงสร้างองค์กรอ่อนแอ สำนัก เลขาธิการอาเซียน มีงบประมาณจำกัด ไม่มีอำนาจและความเป็นอิสระเพียงพอที่จะกำหนดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

อาฟตา : ความสำเร็จครั้งสำคัญของอาเซียน

          อาเซียนได้พยายามศึกษาหาแนวทางและมาตรการที่จะขยายการค้าระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะ การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน โดยใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff: CEPT) สำหรับสินค้าของอาเซียน ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนมกราคม 2535 ณ ประเทศ สิงคโปร์ จึงได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอของไทย โดยนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน ในการเริ่มจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ตามกรอบความตกลงแม่บทว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) และความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน [Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)]

          ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งได้ร่วมก่อตั้งอาฟตาขึ้นในขณะนั้น มีเพียง 6 ประเทศ ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาภายหลังอาเซียนได้ขยายจำนวนสมาชิกเป็น 10 ประเทศ โดยเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 7 ในปี 2538 ลาวและพม่า เป็นสมาชิกลำดับที่ 8 และ 9 ในปี 2540 และกัมพูชาเป็นสมาชิกลำดับที่ 10 ในปี 2542 อาเซียนจึงเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่กลุ่มหนึ่งของโลกมีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคน

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ของอาเซียน

          เพียงเวลาไม่ถึง 10 ปีหลังจากการจัดตั้งอาฟตาในปี 2536 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียนได้มีการขยายตัวทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง ในเชิงลึก เช่น ปี 2537 – เร่งรัดการจัดตั้งอาฟตาจาก 15 ปี เป็น 10 ปี นำสินค้าซึ่งเดิมยกเว้นลดภาษีชั่วคราวเข้ามาลดภาษี ขยายขอบเขตสินค้าที่ต้องลดภาษีให้ครอบคลุมสินค้าเกษตรไม่แปรรูป ขยายขอบเขตความร่วมมืออาเซียนไปสู่ด้านการขนส่งและสื่อสาร สาธารณูปโภค บริการ และทรัพย์สินทางปัญญา ปี 2538 - เร่งรัดอาฟตาโดยขยายรายการสินค้าที่จะลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ในปี 2543 และให้มีรายการ ที่ลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ให้มากที่สุด และให้เริ่มเปิดการเจรจาเพื่อเปิดเสรีบริการ ให้พิจารณาการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน และให้มีโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม เพื่อเสริมสร้างอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเป็นพื้นฐานและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยเน้นการให้สิทธิประโยชน์ส่วนลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ปี 2542 – ประกาศให้อาฟตาเป็นเขตการค้าเสรีที่แท้จริง โดยจะลดภาษีสินค้าทุกรายการลงเหลือร้อยละ 0 ในปี 2553 และ 2558 สำหรับสมาชิกเดิมและสมาชิกใหม่ ตามลำดับ

          การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเชิงกว้างของอาเซียนอื่น ๆ นอกจากอาฟตา เช่น นอกจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าดังที่กล่าวข้างต้น อาเซียนได้ขยายความร่วมมือครอบคลุมสาขาต่างๆ อย่างกว้างขวาง อาทิ การคลัง เทคโนโลยีและการสื่อสาร โทรคมนาคม เกษตรและป่าไม้ การ ขนส่ง พลังงาน แร่ธาตุ และการท่องเที่ยว


วิวัฒนาการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
ของอาเซียนจนถึงแผนการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

          อาเซียนมีการเจริญเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป ให้ความสำคัญต่อการจัดทำกรอบงานอย่างกว้างๆ และยืดหยุ่นได้ เพื่อให้สอดรับกับความคิดเห็นอันหลากหลายของสมาชิก และเพื่อให้เป็นรากฐานอันมั่นคงสำหรับจุดมุ่งหมายร่วมกันต่อไป รวมทั้งทำให้เกิดค่านิยมที่ดี และวางรากฐานความสำเร็จในอนาคต

          อาเซียนตระหนักดีว่า ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค ดังนั้น นอกจากความร่วมมือทางการเมือง สังคม การศึกษาและวัฒนธรรมแล้ว อาเซียนจึงมุ่งมั่นที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันมาโดยตลอด โดยมีวิวัฒนาการที่สำคัญ ดังนี้

ปี พ.ศ./คศ.
วิวัฒนาการและการดำเนินการ
2535 (1992)
การพัฒนาเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟต้า (ASEAN Free Trade Area: AFTA) เพื่อส่งเสริมการขยายตัวทางการค้าโดยการเร่งลดภาษีสินค้าและยกเลิกมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีภายในอาเซียน
2538 (1995)
ริเริ่มความร่วมมือด้านการค้าบริการของอาเซียน โดยจัดทำความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Service: AFAS) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเป็นผู้ให้บริการในภูมิภาค
2538 (1995)
การจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area: AIA) เพื่อให้อาเซียนเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกอาเซียน
2540 (1997)
กำหนดวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision 2020) เป้าหมายในด้านเศรษฐกิจของอาเซียน คือ สร้างอาเซียนให้เป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มั่นคง มั่งคั่ง และมีความสามารถในการแข่งขันสูง มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการและการลงทุน รวมทั้งเงินทุนอย่างเสรี
2541 (1998)
จัดทำแผนปฏิบัติการฮานอย (Hanoi Plan of Action: HPA) เพื่อเป็นแผนปฏิบัติการให้บรรลุวิสัยทัศน์อาเซียน ระยะเวลา 6 ปี (2543 - 2547)
2543 (2000)
ประกาศความคิดริเริ่มเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration: IAI) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกใหม่ของอาเซียนในการปรับตัวรวมกลุ่มเศรษฐกิจของอาเซียนได้ตามกำ หนดเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
2544 (2001)
จัดทำแผนงานการรวมกลุ่มของอาเซียน (Roadmap for Integration of ASEAN: RIA) ประกอบด้วยแนวทางขั้นตอน และกรอบเวลา ในการดำเนินการให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์อาเซียน รวมทั้งให้ศึกษาเรื่องความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน
(ASEAN Competitiveness Study) เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและเร่งรัดการรวมกลุ่มของอาเซียน
2545 (2002)
ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 8 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงานให้แน่ชัดเพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ASEAN Economic Community: AEC)
2546 (2003)
ผู้นำอาเซียนประกาศแถลงการณ์ Bali Concord II เห็นชอบที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภายในปี ค.ศ. 2000

2547 (2004)
ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียน และรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในพิธีสารรายฉบับ รวม 11 ฉบับ ซึ่งมี Roadmap เพื่อการรวมกลุ่มสาขาสำคัญเป็นภาคผนวก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำร่องการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจใน 11 สาขาสำคัญก่อน ได้แก่ เกษตร ประมง ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ยานยนต์ อิเลคทรอนิกส์ สุขภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ การท่องเที่ยว การบิน และต่อมาได้เพิ่มสาขาที่ 12 คือสาขาโลจิสติกส์
2548 (2005)
เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนพิจารณาทบทวน ปรับปรุงแผนงานการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนในระยะที่ 2 เพื่อปรับปรุงมาตรการต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพและรวมข้อเสนอของภาคเอกชน
2549 (2006)
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนและพิธีสารว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญ (ฉบับแก้ไข)
2550 (2007)
- ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี ค.ศ. 2015 และเพื่อเร่งรัดเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นอีก 5 ปี จากเดิมที่กำหนดไว้ในปี 2020
- ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบูว่าด้วยแผนแม่บทสำหรับกฎบัตรอาเซียน เพื่อสร้างนิติฐานะให้อาเซียนและปรับปรุงกลไก/กระบวนการดำเนินงานภายในอาเซียน เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน


แบบฝึกหัด

1.อาฟตา ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.ใด
   ตอบ ปี พ.ศ.2536
2.อาเซียนเกิดขึ้นเมื่อปีใด
   ตอบ พ.ศ.2510
3.เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในลำดับที่เท่าไหร่ ปีอะไร 
   ตอบ ลำดับที่ 7 ในปี พ.ศ.2538
4.ประเทศใดเข้ามาเป็นสมาชิกในอาเซียนลำดับที่ 10
   ตอบ ประเทศกัมพูชา
5.ผู้นำอาเซียนประชุมครั้งแรกที่ใด
   ตอบ ณ เกาะบาหลี
6.ทิศทางในการดำเนินงานของอาเซียนเริ่มชัดเจนขึ้นในปีใด
   ตอบ พ.ศ.2520
7.สมาชิกอาเซียนอยู่ในเอเชียใด
   ตอบ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
8.ด้านอุตสาหกรรมมีถึง 4 โครงการ ได้แก่อะไรบ้าง
   ตอบ โครงการอุตสาหกรรมอาเซียน,โครงการแบ่งผลิตทางอุตสาหกรรมอาเซียน,โครงการร่วมลงทุนด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน,โครงการแบ่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
9.ก่อนหน้าที่จะมีสมาชิกอาเซียนเพิ่มเข้ามา อาเซียนประกอบด้วยสมาชิกกี่ประเทศ
   ตอบ มี 6 ประเทศ
10.ลาวและพม่าเป็นสมาชิกลำดับที่เท่าไหร่
   ตอบ ลำดับที่ 8 และ 9


2.รู้จัก ประเทศอาเซียน ก่อนก้าวสู่ ประชาคมอาเซียน 2558

รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน


1.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) 

          ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน" เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ


2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

          เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้


3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

          เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ


4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)

          เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ 



5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

          เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ



6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)

          เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ


7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)

          เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)


8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

          เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ



9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)

          เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ 


10.สหภาพพม่า (Union of Myanmar)

          มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ 

แบบฝึกหัด

1.อาเซียนประกอบด้วยกี่ประเทศ
   ตอบ 10 ประเทศ
2.มีประเทศอะไรบ้าง
   ตอบ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม พม่า
3.เนปิดอว คือเมืองหลวงของประเทศอะไร
   ตอบ พม่า
4.เมืองหลวงของไทยมีพื้นที่กี่ตารางกิโลเมตร 
   ตอบ มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร
5.ธงชาติของสิงคโปร์มีกี่สี ได้แก่สีอะไรบ้าง
   ตอบ มี 2 สี ได้แก่ ขาว,แดง
6.เมืองหลวงของอินโดนีเซียคืออะไร
   ตอบ จาการ์ตา
7.ประเทศใดมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย
   ตอบ ประเทศกัมพูชา
8.บรูไนปกครองแบบใด
   ตอบ ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช
9.ประเทศใดใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ
   ตอบ ประเทศกัมพูชา
10.ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศใดนับถือศาสนาคริสต์
   ตอบ ประเทศฟิลิปปินส์


3.ชุดประจำชาติอาเซียน


1. ชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย

          สำหรับชุดประจำชาติมาเลเซียของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาว และกระโปรงยาว



2. ชุดประจำชาติของประเทศเวียดนาม

          อ่าวหญ่าย (Ao dai) เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวมทับกางเกงขายาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวมใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญของประเทศ มีลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วนผู้ชายเวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าวหญ่ายในพิธีแต่งงาน หรือพิธีศพ


3. ชุดประจำชาติของประเทศพม่า

          ชุดประจำชาติของชาวพม่าเรียกว่า ลองยี (Longyi) เป็นผ้าโสร่งที่นุ่งทั้งผู้ชายและผู้หญิง ในวาระพิเศษต่าง ๆ ผู้ชายจะใส่เสื้อเชิ้ตคอปกจีนแมนดารินและเสื้อคลุมไม่มีปก บางครั้งจะใส่ผ้าโพกศีรษะที่เรียกว่า กอง บอง (Guang Baung) ด้วย ส่วนผู้หญิงพม่าจะใส่เสื้อติดกระดุมหน้าเรียกว่า ยินซี (Yinzi) หรือเสื้อติดกระดุมข้างเรียกว่า ยินบอน (Yinbon) และใส่ผ้าคลุมไหล่ทับ



4. ชุดประจำชาติของประเทศบรูไน

          ชุดประจำชาติของบรูไนคล้ายกับชุดประจำชาติของผู้ชายประเทศมาเลเซีย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) แต่ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใส โดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง เป็นการสะท้อนวัฒนธรรมสังคมแบบอนุรักษ์นิยม เพราะบรูไนเป็นประเทศมุสสิม จึงต้องแต่งกายมิดชิดและสุภาพเรียบร้อย



5. ชุดประจำชาติของประเทศลาว

          ผู้หญิงลาวนุ่งผ้าซิ่น และใส่เสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากล หรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ด คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย



6. ชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย

          เกบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาว ผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติก ส่วนการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาวหรือเตลุก เบสคาพ (Teluk Beskap) ซึ่งเป็นการแต่งกายแบบผสมผสานระหว่างเสื้อคลุมสั้นแบบชวาและโสร่ง และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด



7. ชุดประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์

          ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่า บารอง ตากาล็อก (barong Tagalog) ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าใยสัปปะรด มีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อสีครีมแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก (balintawak)



8. ชุดประจำชาติของประเทศไทย

         สำหรับชุดประจำชาติอย่างเป็นทางการของไทย รู้จักกันในนามว่า "ชุดไทยพระราชนิยม" 
โดยชุดประจำชาติสำหรับสุภาพบุรุษ จะเรียกว่า "เสื้อพระราชทาน"

      สำหรับสุภาพสตรีจะเป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควร ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้งดงามสมโอกาสในเวลาค่ำคืน

โดยชุดไทยพระราชนิยม แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้  


1. ชุดไทยเรือนต้น

2. ชุดไทยจิตรลดา

3. ชุดไทยอมรินทร์

4. ชุดไทยบรมพิมาน5. ชุดไทยจักรี

6. ชุดไทยจักรพรรดิ

7. ชุดไทยดุสิต

8. ชุดไทยศิวาลัย


9. ชุดประจำชาติของประเทศกัมพูชา

          ชุดประจำชาติของกัมพูชาคือ ซัมปอต (Sampot) หรือผ้านุ่งกัมพูชา ทอด้วยมือ มีทั้งแบบหลวมและแบบพอดี คาดทับเสื้อบริเวณเอว ผ้าที่ใช้มักทำจากไหมหรือฝ้าย หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ซัมปอตสำหรับผู้หญิงมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย ทั้งนี้ ซัมปอดมีหลายแบบซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนชั้นทางสังคมของชาวกัมพูชา ถ้าใช้ในชีวิตประจำวันจะใช้วัสดุราคาไม่สูง ซึ่งจะส่งมาจากประเทศญี่ปุ่น นิยมทำลวดลายตามขวาง ถ้าเป็นชนิดหรูหราจะทอด้ายเงินและด้ายทอง


10. ชุดประจำชาติประเทศสิงคโปร์

          สิงคโปร์ไม่มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เนื่องจากประเทศสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 เชื้อชาติหลัก ๆ ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และชาวยุโรป ซึ่งแต่ละเชื้อชาติก็มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เช่น ผู้หญิงมลายูในสิงคโปร์ จะใส่ชุดเกบาย่า (Kebaya) ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ หากเป็นชาวจีน ก็จะสวมเสื้อแขนยาว คอจีน เสื้อผ้าหน้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาว โดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบหรือผ้าแพรจีนก็ได้


แบบฝึกหัด

1.ประเทศใดไม่มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง
   ตอบ ประเทศสิงคโปร์
2.ซัมปอตคือชุดของประเทศอะไร
   ตอบ ประเทศกัมพูชา
3.บารอง ตากาล็อก (barong Tagalog) เป็นชุดของผู้หญิงหรือชาย
   ตอบ ผู้ชาย
4.ชุดประจำชาติใดมีผ้าโพกศรีษะ
   ตอบ ประเทศพม่า
5.ประเทศเวียดนามมีชุดประจำชาติเรียกว่าอะไร
   ตอบ อ่าวหญ่าย
6.ผู้ชายประเทศเวียดนามจะสวมชุดอ่าวหญ่ายในงานใด
   ตอบ พิธีแต่งงานหรือพิธีศพ
7.ชุดประจำชาติอย่างเป็นทางการของไทย รู้จักกันในนามว่าอะไร 
   ตอบ ชุดไทยพระราชนิยม
8.ชุดประจำชาติสำหรับสุภาพบุรุษ จะเรียกว่าอะไร
   ตอบ เสื้อพระราชทาน
9.ชุดประจำชาติของบรูไนคล้ายกับชุดประจำชาติใด
   ตอบ ประเทศมาเลเซีย
10.มาเลเซียจะนุ่งโสร่งเมื่อใด
   ตอบ เมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด